วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน





บรรยกาศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ณ กศน.ตำบลงอบ จังหวัดน่าน

ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลงอบ

ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น

ที่
ชื่อแหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่อยู่
1
กศน.ตำบลงอบ
บ้านทุ่งสุน หมู่ที่ .งอบ  อ.ทุ่งช้าง  จ.น่าน
2
กลุ่มทอผ้าบ้านทุ่งสุน
เลขที่ 27 หมู่ที่  4 บ้านทุ่งสุน  ต.งอบ  อ.ทุ่งช้าง  จ.น่าน
3
การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า
เลขที่ 26 หมู่ที่ 5 บ้านงอบเหนือ .งอบ  อ.ทุ่งช้าง  จ.น่าน
4
ศูนย์การเรียนรู้แพทย์พื้นบ้าน
เลขที่ 6 หมู่ที่  4 บ้านทุ่งสุน  ต.งอบ  อ.ทุ่งช้าง  จ.น่าน
5
หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสะแตง
หมู่ที่ บ้านห้วยสะแตง  ต.งอบ  อ.ทุ่งช้าง  จ.น่าน
6
การตีเหล็ก
เลขที่ 30 หมู่ที่ 6  บ้านน้ำลาด .งอบ  อ.ทุ่งช้าง  จ.น่าน
7
แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
หมู่ที่ 8 บ้านงอบใต้   .งอบ  อ.ทุ่งช้าง  จ.น่าน
8
วัดศรีดอนชัย                 
วัดศรีดอนไชย หมู่ที่ 9 บ้านงอบกลาง .งอบ  อ.ทุ่งช้าง  จ.น่าน
9
หมอสู่ขวัญ,สอนภาษา (ตั๋วเมือง)
นายประสงค์ เทพจันตา  45 หมู่ 1 .งอบ  อ.ทุ่งช้าง  จ.น่าน
10
งานฝีมือ ด้านจักสาน
นายคำปัน  เปาป่า  เลขที่  12 หมู่ที่  3  ต.งอบ  อ.ทุ่งช้าง  จ.น่าน
11
พิธีกรรม
นายคำอ้าย  เปาป่า  เลขที่  23 หมู่ที่  3  ต.งอบ  อ.ทุ่งช้าง  จ.น่าน
12
ช่างฝีมือทอผ้า ลายน้ำไหล      
..ศรีสวลัย  คำรังษี เลขที่ 27 หมู่ 14 .งอบ อ.ทุ่งช้าง  จ.น่าน
13
ด้านการทำเครื่องดื่ม (เหล้าอุ)
นางละเอียด  ร่อนทอง เลขที่  65 หมู่ .งอบ อ.ทุ่งช้าง  จ.น่าน
14
การตีเหล็ก
นายส้อม เปาป่า  เลขที่  30  หมู่ที่ .งอบ  อ.ทุ่งช้าง  จ.น่าน
15
การจักสาน  
นายแก้ว   เปาป่า  เลขที่  23  หมู่ที่ .งอบ  อ.ทุ่งช้าง  จ.น่าน
16
ภาษาพื้นเมืองล้านนา
นายศรีทอน อินทะรังษี  ที่ 104 หมู่ 10  .งอบ อ.ทุ่งช้าง  จ.น่าน
17
การขับร้องเพลงพื้นบ้าน (จ้อย)  
นางจันทร์  ร่อนทอง  เลขที่  35 หมู่10 .งอบ  อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน
18
การตีเหล็ก  
นายประสาน ย่านสากล เลข 15 หมู่ 11 ต.งอบ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน

ข้อมูล กศน.ตำบลงอบ






1.ข้อมูลพื้นฐานต่างๆ
1.1 สภาพทางกายภาพของชุมชน (ตำบล/แขวง)
    1.1.1 ประวัติความเป็นมาตำบลงอบ     
                                                คำว่า งอบตามพจนานุกรมให้ความหมายว่า เครื่องสวมศีรษะ สำหรับกันแดดกันฝน สานด้วยไม้ไผ่กรุด้วยใบลาน ลักษณะคล้ายกระจาดคว่ำ มีรังสำหรับสวมศีรษะ แต่แท้ที่จริงคำว่า งอบที่เป็นชื่อของตำบลงอบนี้ ไม่ทราบว่าใครเป็นคนตั้ง แต่สันนิษฐานว่าไม่ใช่หมายถึงเครื่องสวมศีรษะตาม พจนานุกรมกล่าวแน่นอน เพราะคำว่า งอบเป็นภาษาไทยกลาง ชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกหมวกลักษณะ ดังกล่าวว่า กุบ”  และมีผู้อาวุโสตำบลงอบให้ความเห็นว่า คำว่า งอบซึ่งแปลว่าเหงา เพราะสมัยก่อนมีผู้คนอาศัยอยู่น้อย ต่อมามีผู้อาศัยอยู่มากขึ้นทำให้ไม่เงียบเหงาเหมือนเมื่อก่อน ก็เลยเปลี่ยนไปเป็นจากบ้านง่อมไปเป็นบ้านงอบ ซึ่งใกล้เคียงกับชื่อเดิม หรือไม่ก็เพี้ยนมาเป็นงอบ ตามวิวัฒนาการทางภาษพูด หมู่บ้านในตำบลงอบส่วนใหญ่ของประชากรทั้งหมด เป็นชาวไทยลื้อ มีวัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดต่างจากหมู่บ้านอื่นในเขตอำเภอเดียวกัน สันนิษฐานว่าอพยพมาจากมณฑลยูนาน แคว้นสิบสองปันนา ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน เพราะวัฒนธรรมหลายอย่างของชาวตำบลงอบคล้ายคลึงกับชาวไทยลื้อในแผ่นดินจีน ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือ ไทสิบสองปันนาและหนังสือ ลื้อคนไทย  ในประเทศจีนของบุญช่วย ศรีสวัสดิ์

                                                  อีกท่านหนึ่งคือ หลวงวิจิตร  วาทการ ผู้ซึ่งมีประสบการณ์เป็นเอกอัคราชฑูตประเทศต่าง ๆ ได้เขียนหนังสืออ้างอิงถึงชาวไทยลื้อประเทศจีน ในหนังสือ บัลลังค์เชียงรุ้งและหนังสือ งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไตร ไว้เช่นกัน
                                               นอกจากนี้ปริญญานิพนธ์ของ ชำนาญ รอดเหตุภัย ได้นิพนธ์เรื่องวรรณกรรมไทลื้อ กล่าวว่าชาวไทยลื้อมีภูมิลำเนาอยู่ที่แคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน อพยพมาอยู่ประเทศไทยหลายครั้ง สาเหตุที่อพยพเพราะพื้นที่บางแห่งในถิ่นธุระกันดาน ไม่มีที่ทำกิน  ถูกโจรร้ายปล้น ได้รับการข่มเหงจากชนชาติผู้ปกครอง จึงได้อพยพเข้ามาทางตอนเหนือของประเทศไทยจากหลักฐานอ้kงอิdที่กล่าวมา นับว่าชาวไทยลื้อเป็นบรรพบุรุษดั้งเดิมของคนไทยมาแต่โบราณ
                    1.1.2  ขนาดพื้นที่
                                               เนื้อที่ตำบลงอบทั้งหมดประมาณ 188.994 ตารางกิโลเมตร  หรือ 118,121.25  ไร่ 
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับภูเขาและที่ลาดเอียงเนินเขา และที่ดอน ที่ราบริมแม่น้ำน่าน เป็นพื้นที่ทำนา ปลูกข้าว พื้นที่ลาดเอียงและที่ดอน ใช้เป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ และทำสวน  พื้นที่ดินที่ราบริมแม่น้ำมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรียวัตถุ ส่วนพื้นที่ลาดเอียงหรือพื้นที่ดอนมีสภาพเป็นกรวด    เป็นที่ราบสลับเนินเขา ที่ราบริมแม่น้ำน่าน มีการปลูกพืชบนพื้นที่ราบริมแม่น้ำ แหล่งน้ำสำคัญในตำบลมี แม่น้ำน่าน เป็นต้น
                    1.1.3  อาณาเขตที่ติดต่อ
                                                ทิศเหนือ                ติดต่อกับตำบลปอน อำเภอทุ่งช้าง
                                                ทิศใต้                      ติดต่อตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง
                                                ทิศตะวันออก       ติดต่อกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
                                                ทิศตะวันตก          ติดต่อกับเมืองเชียงฮ่อน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

                   1.1.4 ลักษณะทางกายภาพ
                                        ตำบลงอบ   ส่วนใหญ่เป็นภูเขาทำให้มีอากาศหนาว  ส่วนหน้าร้อนจะร้อนและแห้งแล้งมาก  ในฤดูฝนบางปีมีฝนตกหนักจนเกิดสภาพน้ำท่วมขึ้น   ทำให้เกิดความเสียหายแก่พืชผลการเกษตร ตามบริเวณที่ราบลุ่ม ฯลฯภูมิอากาศลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน มี  3  ฤดู
·       ฤดูร้อน          เริ่มตั้งแต่               เดือนมีนาคม  - เดือนพฤษภาคม
·       ฤดูฝน             เริ่มตั้งแต่               เดือนพฤษภาคม  - เดือนพฤศจิกายน
·       ฤดูหนาว        เริ่มตั้งแต่               เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์
                  1.5 เส้นทางคมนาคม
                                                        ตำบลงอบ มีเส้นคมนาคม  จากอำเภอเมืองน่าน  ผ่านถึง เส้นทางคมนาคมด่านชายแดนห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

2. สภาพทางสังคม
               2.1 ด้านประชากร
                               ตำบลงอบแบ่งเขตการปกครองเป็น 11 หมู่บ้านมี 4 ชนเผ่า ประกอบด้วย ไตลื้อ ม้ง ถิ่น และขมุ มีประชากร  ทั้งสิ้น  5,596  คน  แยกรายหมู่บ้านดังนี้.
             2.2 ด้านวัฒนธรรมและประเพณี
                            ตำบลงอบ มีประเพณีที่สำคัญ ได้แก่การไตลื้อ  ประเพณีลอยกระทง ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีการบวชนาค และมีการสืบทอดขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมดั้งเดิม   คือประเพณีตานก๋วยสลาก วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้าน มีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ  ให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชน
                           ศาสนา  ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่มีความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์  ชึ่งจะมีพิธีกรรมต่างๆเพื่อเป็นการผ่อนคลายความทุกข์ และทำให้เกิดความสบายใจ เช่น  พิธีสงเคราะห์รวม  สะเดาะเคราะห์  เรียกขวัญ (บายสีสู่ขวัญ) การเซ่นไหว้เจ้าที่(เลี้ยงผี) และการสืบชะตา
                          วัฒนธรรม ในการแต่งกาย  ผู้ชายสมัยก่อนชอบใส่เสื้อแขนกระบอก กางเกงขาก๊วย (เตี่ยวสามดูก)ผู้หญิงชอบใส่เสื้อแขนกระบอก สวมผ้าถุง(ผ้าซิ่น) สีดำหรือ สีคราม  โดยวีการทอ  และตัดเย็บแล้วย้อมหม้อฮ้อมด้วยตนเอง  แต่ในปัจจุบันนี้การแต่งกายได้เปลี่ยนไปตามยุคสมัยที่นิยม

                         ภาษา ส่วนใหญ่ใช้ภาษาท้องถิ่น (ลื้อ ขมุ )  ส่วนภาษาเขียนที่เรียกว่า ตั๋วเมืองหรืออักษรล้านนา ในปัจจุบันขาดการสืบทอด  จึงหันมาใช้อักษรภาษาไทยเขียนแทน            

3. ข้อมูล กศน.ตำบลงอบ


               สถานที่ติดต่อ: หมู่  5  ตำบลงอบ     อำเภอทุ่งช้าง   จังหวัดน่าน 55130

               โทรศัพท์ :       08-1764-3194        
               e-mail:         nancyhistory@hotmail.com
             กศน.ตำบลงอบ ตั้งอยู่เลขที่ 154 บ้านทุ่งสุน หมู่ที่ 4 ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
ซึ่งได้รับงบประมาณในการก่อสร้าง กศน.ตำบล ในปีงบประมาณ  2554 จากสำนักงาน กศน.  ซึ่งก่อสร้าง อาคารเรียนในพื้นที่บ้านทุ่งสุน (โรงเรียนบ้านทุ่งสุนเก่า)  หมู่ที่ 4  ซึ่งเป็นพื้นที่ราชพัสดุ ซึ่งอยู่ ในความดูแลของ อบต.งอบ  โดยมีนาย สม เทพจันตา  เป็นผู้ให้อนุญาต ใช้พื้นที่ดังกล่าวสร้าง กศน.ตำบลงอบ เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ  ภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมถึงส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์โดยทั่วถึงและเสมอภาคกัน และได้ทำบุญดำเนินการเปิด กศน.ตำบลงอบ ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 โดยมีนายสุรพล  วงศ์หวัน รองผู้อำรวนการ สำนักงาน กศน.จังหวัดน่าน เป็นประธานเปิด กศน.ตำบล

             3.ข้อมูลบุคลากร  กศน.ตำบลงอบ  
 

นายกิติพงค์  พรหมรักษ์
ครู อาสาฯ

นางสาวจีระนันท์  จินะไชย
ครู กศน.ตำบลงอบ